ประเพณีภาคกลาง


ประเพณีวิ่งควาย



แหล่งที่มารูปภาพ: www.onlave.com 


ชื่อประเพณี :
  วิ่งควาย

จังหวัด :   ชลบุรี

ช่วงเวลา : ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี
ความสำคัญ : ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรมซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของ
ชาวไทยและต่างประเทศ
พิธีกรรม : ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้าเพื่อให้ควายได้พักจากการไถนาชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วยก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนานปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย
สาระ : แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกันและแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อนในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษาซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่
จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง  ทำบุญตักบาตรวันเทโวโรหนะ
วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระและวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย
 ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึง  จัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง   จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุขอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี   จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด



ประเพณีสู่ขวัญข้าว



แหล่งที่มารูปภาพ: www.phai13.com



ชื่อประเพณี : สู่ขวัญข้าว
จังหวัด :    นครนายก
ช่วงเวลา : ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ : เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
พิธีกรรม : โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิง
นุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม
เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง(บางหมู่บ้านใช้ผ้าสี ผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่น
ที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่
ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย
สาระ : เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น



ประเพณีกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาธ


แหล่งที่มารูปภาพ: lucifell.exteen.com


ชื่อประเพณี :
  กวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
จังหวัด :   ชัยนาท
ช่วงเวลา : วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาคตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญ  : ตามประวัติสมัยพุทธกาล เชื่อว่านางสุชาดา ได้นำข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธถวายพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังนั้นชาวพุทธจึงถือว่าข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธเป็นอาหารทิพย์ และได้ทำถวายแด่พระสงฆ์์ในฤดูก่อนเดือนสิบสอง
พิธีกรรม  : เนื่องจากวัสดุที่สำคัญในการทำข้าวทิพย์ คือน้ำข้าวจากต้นข้าว
ที่กำลังเป็นน้ำนม ใน ประเทศไทยเชื่อกันว่ามีหลายจังหวัดที่ทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึงปัจจุบัน แต่สำหรับจังหวัดชัยนาทมีทำกันตลอดที่ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาททำกันแทบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันทำกันตลอดมาทุกปี
จนถือเป็นประเพณีที่หมู่บ้านหนองพังนาค
สาระ  : ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชน
ในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าวของต่าง ๆ มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จและถวาย
เป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล





ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

แหล่งที่มารูปภาพ: www.manager.co.th


ชื่อประเพณี :  ตักบาตรน้ำผึ้ง
จังหวัด :  สมุทรสาคร
ช่วงเวลา :  กลางเดือน ๙ ของทุกปี
ความสำคัญ : การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้ง
แก่ภิกษุและสามเณรของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาสอำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อยและน้ำผึ้งคอยถวายต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้
พิธีกรรม : การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์
เจริญพระพุทธมนต์นั้น ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตรและนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหารคาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตร ได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล
สาระ: 
การตักบาตรน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมที่น้อมนำให้ระลึกถึงองค์
ผู้มีพระภาคเจ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดียรัจฉาน สัตว์ยังรู้คุณค่าของศาสนาด้วยการเสาะแสวงหาภิกษาหารนำมาถวายพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรม พุทธศาสนิกชนจึงนำรูปแบบของการนำปัจจัยมาถวายเพื่อ
จุดหมายการได้ฟังธรรมเทศนาเช่นกัน


วิดีโอจาก: www.youtube.com



เรียบเรียงโดย : thailandtradition12.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก : personal.swu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น