ความหมายประเพณีไทย



แหล่งที่มารูปภาพ: xn--k3cikmwc5gwb5fxbya.com


ความสำคัญของประเพณีไทย
พจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายของคำว่า ประเพณีไทย ไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนม มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
ประเพณีของไทย นั้นให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเช่น มารยาทในห้องรับประทานอาหาร การให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส ผู้น้อยต้องรู้จักสัมมาคารวะให้ความเคารพผู้ใหญ่ ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม ที่รับเอาอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยและชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยการสร้างศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล อย่างไรก็ดีอิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์ และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่น คนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย
ประเพณีไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา, ศิลปะ และประเพณี
1.    ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ.1826 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤต อีกทั้งยังได้รับได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจนถึงปัจจุบัน
2.  ศิลปะไทย นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากพระราชาและชาววังครั้งแต่โบราณ และส่วนมากจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ศิลปะการสร้างภาพวาดฝาหนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และพิธีกรรมทางศาสนา การสร่างสิ่งก่อสร้างในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์, วัด, หรือสถูป ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่นการจัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดยังเป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนสถูป และเจดีย์ ถูกสร้างขึ้นขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์ และยังเป็นคติให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนไทยมีประเพณีสร้างเจดีย์เอาไว้ในวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเตือนใจคนในสังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า
3.   ประเพณีไทย แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย และความผูกพันกับความเชื่อและ พุทธศาสนาเช่นภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธรภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

         วัฒนธรรม 
ประเพณีไทย ของชาติล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมของไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวความคิด ความเชื่อ และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นมาในอดีตซึ่งมีความสำคัญพอสรุปเป็นสังเกตได้ดังต่อไปนี้
                      1.    พระพุทธศาสนา และพราหมณ์รวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น มีอิทธิพลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ในด้านความเชื่อในเรื่องของความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
                        2.    เป็นเครื่องเตือนจิตใจ ให้รู้จักเป็นผู้มีความเสียสละ และความรักความสามัคคี ซึ่งจะเห็นได้จากงานบุญต่างๆ ที่ต้องใช้การร่วมมือ  ร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะประสบผลสำเร็จเช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นต้น
                    3.    มารยาทไทย เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน และการมีสัมมาคารวะ
                         4.     ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดควบคุมพฤติกรรมให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงาม
                    5.      ขนบธรรมเนียมประเพณี สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติ ถึงแม้ประเพณีจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ก็แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นชนชาติเดียวกัน

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่สืบไปจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ดังนี้
1.  การรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งจากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบันทึกไว้ เพื่อนำมาศึกษา วิจัยให้เข้าใจถึงแก่นแท้ เอกลักษณ์ และคุณประโยชน์ของวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดการยอมรับ และนำไปปรับใช้กับชีวิตยุคปัจจุบันได้
2.   ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของประเพณีไทย โดยเฉพาะประเพณีในท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงเอกลักษณ์ทางวัฒธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงจากวัฒธรรมอื่นๆที่เข้ามาได้
3.   การรณรงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้กับคนไทยทุกคน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมทั้งภาคเอกชนต้องร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน
4. ส่งเสริมให้ใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นซื่อกลาง ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งวัฒนธรรมภายในประเทศ ระหว่างท้องถิ่นต่างๆและระหว่างประเทศ
5.  ปลูกฝังทัศนคติว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติให้ทุกคนเกิดความเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน
6.  สร้างศูนย์กลางในเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานทางด้านวัฒนธรรม ด้วยระบบเครือข่ายสารสนเทศ เช่นเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้ง่าย อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก ประเพณีไทย.ebst.info


2 ความคิดเห็น:

  1. ประเพณีไทย เป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นไทย เราควรอนุรักษ์ไว้นะคะ

    ตอบลบ