ประเพณีภาคใต้



ประเพณีการแข่งโพน

แหล่งที่มารูปภาพ: www.khaosod.co.th

จังหวัด :   พัทลุง

ช่วงเวลา :    ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ

ความสำคัญ : วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้นในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่า คงตีแข่งขันภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรม : การแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อนเป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก
              ๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ  การแข่งขันจะเป็นแบบพบกันหมดหรือแพ้คัดออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ ๆ  ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน
กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนน โดยอยู่ห่างจากสถานที่ตีไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตรณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลา เรียกคู่โพนเข้าประจำที่ ลองตีก่อนฝ่ายละประมาณ ๓๐ วินาที เพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม จากนั้นเริ่มให้ทั้งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาที ขณะที่โพนกำลังตีแข่งขันอยู่นั้น กรรมการฟังเสียงทั้งหมดจะตั้งใจฟังเสียงโพนแล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน

สาระ : การแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนาบางประการแล้ว กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อในการประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสพบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรอนุรักษ์ให้ การละเล่นชนิดนี้คงอยู่ตลอดไป 



ประเพณีลากพระ(ชักพระ)


แหล่งที่มารูปภาพ: www.thaimtb.com 



ช่วงเวลา :วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด

ความสำคัญ :
 เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้า ประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม 

       ๑. การแต่งนมพระนมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค
มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลาย
ระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อย
ระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม

         ๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระพระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระแล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน๑๑  ชาวบ้าน จะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์
เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย

         ๓. การลากพระใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ  คนลาก
จะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง  บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :

 อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

สาระ :    ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
        ๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก"  นมพระจึงสร้าง
สัญลักษณ ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
        ๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลาก
ผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่น
จะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
        ๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้อง
ในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ 




ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย


แหล่งที่มารูปภาพ: www.siamzip.com


ช่วงเวลา: ประเพณีการแข่งเรือกอและและเรือยาวด้วยฝีพายหน้าพระที่นั่ง ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ กันยายนซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
ความสำคัญ : ในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งจะทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงทุกหมู่เหล่า ทรงวางโครงการน้อยใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็นด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและอันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนราธิวาส  ถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙อีกทั้งได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะการแข่งขันด้วย
สาระ : การแข่งขันใช้เรือกอและระยะทาง ๖๕๐ เมตร ผู้ควบคุมลำละ ๑ คนจำนวนฝีพายรวมทั้งนายท้ายไม่เกินลำละ ๒๓ คน และมีฝีพายสำรองไม่เกินลำละ ๕ คน  การเปลี่ยนตัวในแต่ละเที่ยวทำได้เที่ยวละไม่เกิน ๕ คน ทั้งนี้ให้ผู้ควบคุมทีมประจำเรือแจ้งให้คณะกรรมการปล่อยเรือทราบเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องถึงจุดเริ่มต้น (จุดปล่อยเรือ) ก่อนเวลาที่กำหนดแข่งขันในรอบนั้น หากไปช้ากว่ากำหนดเกิน ๑๕ นาที ถือว่าสละสิทธิ์จะปรับแพ้ในรอบนั้นได้ ก่อนการได้ยินสัญญาณ ณ จุดเริ่มต้นฝีพายทุกคนยกพายให้พ้นผิวน้ำ  ยกเว้นนายท้ายเรือให้ใช้พายคัดท้ายเรือบังคับเรือให้หยุดนิ่ง และจะต้องวิ่งในลู่ของตน  หากวิ่งผิดลู่หรือสายน้ำถือว่าผิดกติกาให้ปรับเป็นแพ้ในเที่ยวนั้น เรือที่เข้าถึงเส้นชัยก่อนลำอื่นโดยถือหัวเรือสุดเป็นการชนะการแข่งขันในเที่ยวนั้น การแข่งขันแบ่งเป็น๔ รอบ รอบที่ ๑  และรอบที่ ๒ เป็นรอบคัดเลือก รอบที่ ๓ เป็นรอบรองชนะเลิศและรอบที่ ๔ เป็นรอบชิงชนะเลิศ


ประเพณีสารทเดือนสิบ


แหล่งที่มารูปภาพ: siya.in.th


ประเพณีสารทเดือนสิบ  เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ประเพณีสารทเดือนสิบมีพื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่าในวันแรม    ค่ำเดือนสิบ  พญายมจะปล่อย เปรต” จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม ๑๕  ค่ำ เดือนสิบ  โอกาสนี้ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญ  อุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วงานบุญนี้ถือว่า เป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูลในอันที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาจิตต่อบรรพชน  เป็นงานรวมญาติรวมความรัก แสดงความสามัคคี เป็นการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ดังนั้นบรรดาญาติพี่น้องจากทั่วทุกสารทิศก็จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญในประเพณีที่สำคัญนี้
ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบประเพณีสารทเดือนสิบ  มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายายและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราชเป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนาในสังคมเกษตรกรรมจึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
       ๑) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า  ตายาย  ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
          ๒) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหาร
ถวายพระสงฆ์ รวมถึงการจัดรับถวายพระในลักษณะของ  “สลากภัต”  นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ  เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองครอบครัว  และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
     ๓) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด  ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
ทุก ๆ ปี  เรียกว่า  “งานเดือนสิบ”  ซึ่งงานเดือนสิบนี้ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ  มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466  จนถึงปัจจุบัน 



วิดีโอจาก: www.youtube.com
   


เรียบเรียงโดย : thailandtradition12.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก : personal.swu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น