ประเพณีภาคอีสาน



 ประเพณีบุญบั้งไฟ


แหล่งที่มารูปภาพ: www.thaigoodview.com 

จังหวัด :  ยโสธร
ช่วงเวลา : เดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ : ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการทำบุญ
ประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม ประกอบด้วย :
๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้)
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
สาระ :
 ๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร             



ประเพณีไหลเรือไฟ

แหล่งที่มารูปภาพ: student.nu.ac.th 

จังหวัด : 
นครพนม   
ช่วงเวลา : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)
ความสำคัญ : เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย  เพื่อบูชาท้าวผกาพรหมเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
พิธีกรรม : นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
"อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า  ข้าพเจ้าขอน้อมบูชา รอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ
สาระ : เปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง" 


ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา

แหล่งที่มารูปภาพ: www.travelsuphan.com

จังหวัด :  อุบลราชธานี
ช่วงเวลา :  วันขึ้น 15 ค่ำเดือน และแรม ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
ความสำคัญ : งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาลเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อนมีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง
พิธีกรรม : ขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้นคือ วันเข้าพรรษาตั้งแต่เวลาประมาณเวลา 8.00 น. โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราชผ่านหน้าศาลากลาง  ไปถนนชยางกูร  เป็นระยะทาง 2-3 กม. จึงสลายขบวนรูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย  ขบวนแห่เทียนหลวงพระราชทานขบวนต้นเทียนคุ้มวัดต่างๆซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดงการละเล่นการฟ้อนรำ  การบรรเลงคนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง
สาระ :  ต้นเทียนผลิตงานด้านศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นศิลปะงานร่วมสมัย  งานหัตกรรมพื้นบ้านทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปะการตกแต่งต้นเทียน


ประเพณีผีตาโขน

แหล่งที่มารูปภาพ: www.travel.in.th

จังหวัด :  
เลย
ช่วงเวลา  ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ  : การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
พิธีกรรม  : มีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญ พระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมืองสำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด ๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขน จะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
สาระ  : การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น 


วิดีโอจาก: www.youtube.com


เรียบเรียงโดย : thailandtradition12.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก : personal.swu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น